Last updated: 16 เม.ย 2564 | 3319 จำนวนผู้เข้าชม |
ท่ามกลางวิกฤตโรคระบาดที่รุมเร้า ทำให้คนเราหันมาดูแลตัวเองมากขึ้น การปรับธาตุภายในร่างกายให้สมดุล เป็นอีกวิธีหนึ่งที่ได้รับความนิยมในวงกว้าง โดยเฉพาะวิธีการปรับธาตุให้สมดุล จากการเลือกรับประทานอาหาร การใช้สมุนไพรตามแนวทางธรรมชาติบำบัด
หากเราให้เวลากับการเลือกรับประทานอาหาร รู้จักเลือกใช้สมุนไพรให้ถูกต้องตามฤดูกาล ให้เหมาะกับธาตุเจ้าเรือน ให้เข้ากับโรค ก่อนสมดุลที่แปรปรวนจะทำให้เกิดโรค จะช่วยให้ร่างกายได้ขับของเสีย ปรับธาตุร้อน-เย็นที่ผิดปกติให้คืนสู่สมดุลได้ ดีกว่าปล่อยไว้จนเกินเยียวยา จนแสดงอาการออกมาเป็นความป่วยไข้ในที่สุด
หากธาตุในร่างกายไม่สมดุล จะนำมาซึ่งความผิดปกติ และโรคต่าง ๆ อีกมากมาย เช่น ถ้าร่างกายร้อนเกินไป อาจทำให้เกิดโรคความดันโลหิตสูง, โรคกระเพาะอาหารอักเสบ, ตับอักเสบ มีอาการอ่อนเพลีย, กระหายน้ำ, สิวขึ้น, ผมร่วงได้ หรือหากภายในเย็นจนเกินไป อาจมีน้ำมูกไหล, หน้าซีด, เป็นตะคริว, นิ้วล็อก หรือเจ็บแน่นหน้าอกได้
การปรับธาตุในร่างกายให้สมดุล ด้วยสมุนไพรมีมานานแล้ว โดยต้องเลือกสมุนไพรที่มีฤทธิ์เหมาะสมกับอาการที่เป็น เช่น ถ้ามีน้ำมูกไหล ก็ควรเลือกสมุนไพรที่มีฤทธิ์ร้อนในการรักษา เช่น ใบกะเพรา, กระเทียม, ขิง, กระชาย, พริก
หรือถ้าหากภายในเป็นโรคที่บ่งชี้ถึงการอักเสบ ก็ควรเลือกใช้สมุนไพรปรับธาตุที่มีฤทธิ์เย็น เช่น ใบรางจืด, โสมไทย, ว่านหางจระเข้, มะรุม, ผักกาดน้ำ ซึ่งสมุนไพรตัวสุดท้ายนี้มีสรรพคุณที่หลากหลาย สามารถนำมาใช้ปรับธาตุ ลดการอักเสบได้ในหลายโรคเลยทีเดียว
ผักกาดน้ำ หรือหญ้าเอ็นยืด เป็นพืชสมุนไพรล้มลุกขึ้นอยู่บนบก มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Plantago asiatica L. เป็นสมุนไพรที่มีฤทธิ์ร้อนเย็นในตัว หากรับประทานสดจะมีฤทธิ์ร้อน แต่ถ้าต้มจะมีรสจืดเย็น และมีสรรพคุณทางด้านฤทธิ์เย็นที่เด่นกว่า
โดยสารออกฤทธิ์เด่นในผักกาดน้ำได้แก่ Flavonoid, Plantagoguanidinic acid A, Geniposidic acid, Isoacteoside, Acteoside ทำให้มีสรรพคุณดังนี้
คูลแคป เป็นยาสมุนไพรแท้ 100% ที่ผลิตด้วยกระบวนมาตรฐานตาม GMP Asian และมีผลงานวิจัยรองรับคุณภาพของยา จากคณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สามารถใช้ได้ในระยะยาว โดยไม่เป็นอันตรายต่อตับและไต
คูลแคป มีสมุนไพรไทย 4 ชนิดที่ช่วยปรับธาตุในร่างกาย ให้คืนสมดุลอีกครั้ง นอกจากผักกาดน้ำที่ช่วยลดการอักเสบ, ขับพิษ, ปรับธาตุร้อนให้คืนสมดุลแล้ว ยังมีโกฐน้ำเต้า, บอระเพ็ด และส้มซ่า ที่ช่วยแก้ร้อนใน, ลดความกระหายน้ำ, บรรเทาไข้, แก้เจ็บคอ แล้วยังช่วยขับเสียที่ตกค้างในร่างกายออกทางเหงื่อ, ปัสสาวะและอุจจาระอีกด้วย
[1] Yang Q, Qi M, Tong R, Wang D, Ding L, Li Z, et al. Plantago asiatica L. Seed Extract Improves Lipid Accumulation and Hyperglycemia in High-Fat Diet-Induced Obese Mice. Int J Mol Sci. 2017;18.1393. doi: 10.3390/ijms18071393.
[2] วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม. พจนานุกรมสมุนไพรไทย. ผักกาดน้ำ. พิมพ์ครั้งที่ 5, 2542.