Last updated: 19 มี.ค. 2564 | 31222 จำนวนผู้เข้าชม |
คนเราเกิดมา อยากเป็นโน่น เป็นนี่ เป็นอะไรหลายสิ่ง หลายอย่างแตกต่างกันไป แต่คูลแคปเชื่อว่า มีสิ่งหนึ่งที่ใคร ๆ ต่างก็ไม่อยากเป็น คือ.. “ เป็นไข้ ”
ถ้าพูดถึงไข้ หลายคนอาจนึกถึงภาพ คนนอนซม ไม่สบาย กินน้อย ทำกิจกรรมต่าง ๆ ลดลง โดยอาจไม่ได้หมายถึง อาการตัวร้อนร่วมด้วยเลยก็ได้
เดี๋ยวคูลแคป จะพาไปหาคำตอบว่า จริง ๆ แล้ว “ ไข้ ” หมายถึงอะไรกันแน่ แต่ก่อนอื่น มารู้จักกับระบบควบคุมอุณหภูมิร่างกายเบื้องต้นสักหน่อย ดีไหมคะ ?
ไฮโปทาลามัส เป็นสมองส่วนที่ควบคุมอุณหภูมิร่างกาย ซึ่งจะตั้งค่ามาตรฐาน (Set Point) ของอุณหภูมิแกนร่างกายไว้ที่ ~ 37 (36.8 ± 0.4) องศาเซลเซียส (˚C) และมีกลไกตรวจสอบอุณหภูมิร่างกายอยู่ตลอดเวลา ผ่านทางปลายประสาทบริเวณผิวหนัง และไขสันหลัง
ถ้าอุณหภูมิภายนอกสูงขึ้น อากาศร้อนจะทำให้ร่างกายหลั่งเหงื่อเพิ่มขึ้น และเพิ่มประมาณเลือดไปเลี้ยงที่ผิวหนัง อาจสังเกตว่า ผิวหนังบางคนมีสีแดงขึ้นขณะออกกำลังกาย หรือเมื่อเจอแดดร้อน นั่นก็เพราะมีเลือดไปเลี้ยงผิวหนังมากขึ้น เป็นการช่วยระบายความร้อน จากแกนกลางลำตัวอีกทางหนึ่ง
กลับกันในกรณีที่อากาศเย็น เส้นเลือดที่ผิวหนัง ปลายมือปลายเท้าจะหดตัว เพื่อให้เลือดกลับมาเลี้ยงส่วนแกนลำตัวเพิ่มขึ้น เป็นการช่วยเพิ่มอุณภูมิแกนร่างกาย และเป็นช่วยลดการสูญเสียความร้อนทางผิวหนังได้อีกด้วย
ซึ่งบางครั้งถ้าอากาศหนาวจัด อาจมีอาการสั่นร่วมด้วย (Shivering) เป็นการตอบสนองต่ออากาศเย็น ที่รับผิดชอบโดยกล้ามเนื้อลาย (Skeletal Muscle) ที่ทำให้เกิดการหดและขยายตัว เป็นการสร้างพลังงานทำให้เกิดความร้อน ซึ่งสามารถเพิ่มอุณหภูมิร่างกายได้เช่นกัน
สงสัยกันไหมคะว่า ถ้าเป็นไปตามนี้ เวลาเรามีไข้ ตัวเราร้อนขึ้น ทำไมบางคนถึงมีไข้แล้วสั่น แทนที่จะเป็นเหงื่อออกล่ะคะ?
ไข้ (Fever, Pyrexia) เกิดจากการที่พิษของเชื้อโรค (Pyrogen) หลอกให้ไฮโปทาลามัส ปรับ Set Point ของอุณหภูมิร่างกายให้สูงขึ้น
สมมติว่า เราได้เพิ่งได้รับเชื้อเข้ามาใหม่ ร่างกายยังปกติ (อุณหภูมิร่างกาย 37 ˚C) แต่พิษจากเชื้อโรค หลอกให้เราปรับ Set Point ใหม่ไปที่ 39 ˚C ทำให้สมองเข้าใจว่า อุณหภูมิร่างกายต่ำกว่าเกณฑ์ จึงเริ่มสั่งให้ระบบต่าง ๆ ตอบสนอง เหมือนกับตอนที่เราเจออากาศเย็น โดยทำให้กล้ามเนื้อลายสั่น และเพิ่มความร้อนแกนกลาง จนทำให้เราตัวร้อนขึ้น เป็นกลไกการเกิดไข้แบบนี้นี่เองค่า
นิยามของคำว่า ไข้ หมายถึง ภาวะที่อุณหภูมิร่างกายสูง ≥ 37.8˚C [1] เมื่อวัดทางปาก แต่ถ้าต้องการความแม่นยำที่สุด จะเป็นอุณหภูมิที่ได้จากการวัดผ่านทางทวารหนัก ซึ่งจะใกล้เคียงอุณหภูมิแกนกลางลำตัวที่สุด มักจะสูงกว่าทางปาก 0.4 ˚C หรือวิธีที่สะดวกขึ้น คือวัดผ่านทางรูหู ก็จะได้ค่าที่ใกล้เคียงเช่นกันค่ะ
ถึงตรงนี้ หลายคนอาจเริ่มสงสัยว่า ระบบภูมิคุ้มกันดูแลร่างกายไม่ได้เลยหรือ ?
เมื่อร่างกายได้รับสารก่อไข้ (Pyrogen) มาแล้ว นอกจากจะมีการปรับสมดุลอุณหภูมิร่างกายแล้ว ยังมีการกระตุ้นระบบภูมิตุ้นกัน โดยปล่อยสารโปรตีนที่ชื่อ ไซโตไคน์ (Pyrogenic Cytokines) ออกมา เพื่อสู้กับเชื้อโรค เช่น อินเตอร์ลิวคิน-1 (Interleukin-1, IL-1), อินเตอร์ลิวคิน-6 (IL-6), ทูเมอร์เนคโครซิส แฟคเตอร์ (Tumor Necrosis Factor, TNF) เป็นต้น
นอกจากไซโตไคน์จะเก่งในการสู้กับสิ่งแปลกปลอม โดยปล่อยสารทำลายเชื้อโรคโดยตรงแล้ว ตัวไซโตไคน์เองก็สามารถกระตุ้นกลไกการเกิดไข้ เพื่อทำให้อุณหภูมิร่างกายสูงขึ้น จึงช่วยกำจัดเชื้อโรคได้อีกทางหนึ่งด้วยค่ะ แล้วอะไรทำให้เกิดไข้ได้บ้าง ? รู้ไว้จะได้หลีกเลี่ยงถูกนะคะ
ส่วนสาเหตุอื่น ๆ อาจเกิดจากโรคที่มีการอักเสบ เช่นโรคข้อรูมาตอยด์ แต่อย่าสับสนกับโรคลมร้อน หรือลมแดดนะคะ ถึงจะมีอุณหภูมิร่างกายสูง (Hyperthermia) เหมือนกัน แต่ Set Point ในสมองไม่เปลี่ยน จึงไม่เรียกว่าเป็นไข้นะคะ
ให้ “คูลแคป” ช่วยดูแลคุณสิคะ
สมุนไพรในคูลแคปทั้ง 4 ชนิด ได้แก่ บอระเพ็ด ส้มซ่า ผักกาดน้ำ และโกฐน้ำเต้า มีผลต่อการทำงานของไซโตไคน์ โดยเฉพาะอินเตอร์ลิวคิน-6 (IL-6) ช่วยลดกระบวนการอักเสบ ทำให้ยับยั้งกลไกการเกิดไข้ได้ สามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ ที่นี่ นะคะ
นอกจากนี้ ผลการศึกษาของคณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยพบว่า การกินยาคูลแคป 24 เม็ด (138 มิลลิกรัม) เทียบได้กับการใช้ยาลดไข้ 2,100 มิลลิกรัม โดยยาคูลแคป ไม่ส่งผลเสียต่อการทำงานของตับ และค่าไต ในขณะที่ยาแก้ปวดลดไข้ทั่วไป ส่งผลในทิศทางตรงข้าม
มีคูลแคปไว้ ห่างไกลไข้ ไม่ร้อนใน หายเจ็บคอ แถมขับถ่ายสะดวกด้วยนะคะ หาซื้อได้ที่ Boots, Watsons, Fascino หรือตัวแทนจำหน่ายทั่วไป หรือสะดวกช่องทางออนไลน์ ผ่านทางเว็บไซต์คูลแคป KoolCapp, Facebook KoolCapp ก็ได้นะคะ วันนี้คูลแคป ขอตัวไปเพาะบอระเพ็ดเพิ่มอีกหน่อย สวัสดีค่า
[1] Jameson JL, Fauci AS, Kasper DL, Hauser SL, Longo DL, Loscalzo J. Harrison's Principles of Internal Medicine. Fever. 20 ed. New York: McGraw-Hill Education; 2018.