ไม่ว่าจะฤดูไหน อากาศเมืองไทยก็ร้อนได้เสมอ แสงแดดที่ต้องเผชิญทำให้ผิวแห้งเสีย หยาบกร้านลงไปทุกวัน ถ้าภายนอกยังถูกทำลายได้ขนาดนี้ แล้วภายในร่างกายที่เรามองไม่เห็น จะเสื่อมไปถึงไหน? เราจะสังเกตได้อย่างไร?
“ แผลร้อนใน ” รอยเล็ก ๆ ที่หลายคนมองข้าม แต่นั่นคือ เยื่อบุผิวที่ตายอยู่ในช่องปากคุณ ซึ่งน่าจะพอเตือนได้ว่า ร่างกายของคุณต้องการการดูแลแล้ว เพราะไม่ว่าคุณจะเครียดมากเกินไป ทำให้ระดับฮอร์โมนผิดปกติ, มีของเสียสะสมในร่างกายจากท้องผูก, เกิดภาวะความเป็นกรดในร่างกายไม่สมดุล จากการเลือกรับประทานอาหารบางชนิด หรือขาดวิตามินบางตัว ก็ทำให้เกิดแผลร้อนในได้ทั้งนั้น ลองมองหาทางป้องกัน ก่อนต้องมาตามรักษาแผลร้อนในจะดีกว่าไหม?
1. ไม่อยากเป็นแผลร้อนใน ป้องกันอย่างไรดี?
- ดูแลสุขภาพช่องปากอยู่เสมอ ไม่ใช่แค่การแปรงฟัน แต่รวมถึงการใช้ไหมขัดฟัน, การใช้น้ำยาบ้วนปาก และการขูดหินปูนทุก 6-12 เดือน จะลดการอักเสบในช่องปาก ซึ่งอาจเป็นสาเหตุของการเกิดแผลร้อนใน
- แนะนำให้รับประทานอาหารที่มีวิตามินสูง โดยเฉพาะวิตามินบี 12, สังกะสี, โฟเลต และธาตุเหล็ก เช่นในเนื้อสัตว์, เครื่องในสัตว์, หอยแมลงภู่, ไข่แดง, ผักคะน้า, ผักกาด, หน่อไม้ฝรั่ง, ถั่วเหลือง เป็นการรักษาร้อนในด้วยวิถีธรรมชาติ
- เลือกรับประทานอาหารที่มีฤทธิ์ร้อนและเย็นอย่างสมดุล
- หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่แข็งจนเกินไป จนอาจทำให้เยื่อบุช่องปากบาดเจ็บ ซึ่งทำให้เกิดแผลร้อนในได้
- ดื่มน้ำสะอาดอย่างน้อยวันละ 1.5 ลิตร
- พักผ่อนให้เพียงพอ อย่างน้อยวันละ 6-8 ชั่วโมง
- รับประทาน “คูลแคป” ครั้งละ 2 แคปซูล เช้าและเย็น เพื่อป้องกันแผลร้อนใน
ถึงตรงนี้ หลายคนอาจมีคำถามว่า แต่ถ้าเป็นแผลร้อนในแล้ว จะมีวิธีรักษาแผลร้อนในไหม? อยากมีความสุขกับการรับประทานอาหารเหมือนเดิมแล้ว ช่วยที !
2. เป็นแผลร้อนในรักษาอย่างไร?
- ถ้าเจ็บแผลร้อนในไม่มาก อาจอมน้ำแข็ง หรือดื่มน้ำเย็นก่อน
- เริ่มจากการบ้วนปากด้วยน้ำเกลือ เพื่อรักษาแผลร้อนใน โดยละลายเกลือครึ่งช้อนชา ลงในน้ำอุ่น 1 แก้ว จากนั้นใช้กลั้วปากจนรู้สึกเจ็บแผลลดลง หรือแผลร้อนในยุบบวม จะช่วยฆ่าเชื้อโรค และรักษาความสะอาดช่องปากได้ในเวลาเดียวกัน
- ยาบ้วนปากเพื่อฆ่าเชื้อ : คลอร์เฮกซิดีน (0.2% Chlorhexidine gluconate) หลังรับประทานอาหาร ไม่ควรใช้ในช่วง 30 นาทีหลังจากแปรงฟัน
- ยาบ้วนปากเพื่อลดการอักเสบ : เบนไซดามีน (0.15% Benzydamine hydrochloride) ใช้อมบ้วนปากวันละ 4 ครั้ง เพื่อลดอาการบวมจากแผลร้อนใน
- ทายาชนิดขี้ผึ้งที่ช่วยลดการอักเสบ เช่น ยาไตรแอมซิโนโลน อะเซโทไนด์ (Triamcinolone Acetonide), ยาลูโอซิโนโลน อะเซโทไนด์ (Fluocinolone acetonide)
- ทายาชา เช่น ลิโดเคน (Lidocaine) เพื่อบรรเทาอาการปวด ในกรณีที่แผลร้อนในมีขนาดใหญ่มาก
แต่สำหรับคนที่ไม่อยากใช้ยาสังเคราะห์จากสารเคมี เพราะกังวลถึงผลข้างเคียงต่าง ๆ คงอยากมีทางเลือกอื่น ที่เป็นวิธีการรักษาร้อนในแบบธรรมชาติอยู่ใช่ไหม?
3. รักษาร้อนในด้วยสารสกัดจากธรรมชาติ
“คูลแคป” ผลิตจากสมุนไพรธรรมชาติแท้ 100% ตามมาตรฐาน GMP Asian ที่สำคัญ มีผลการวิจัยจากคณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รับรองว่า ยาสมุนไพรคูลแคปสามารถใช้ได้อย่างต่อเนื่อง ไม่เป็นอันตรายต่อตับและไต และไม่ทิ้งสารตกค้างไว้ในร่างกาย
4. พกคูลแคปไว้ แผลร้อนในจะไม่มาเยือน
ในยาสมุนไพรคูลแคป 100 กิโลกรัม (กก.) ประกอบด้วยสมุนไพรไทย 4 ชนิด ได้แก่ โกฐน้ำเต้า 17 กก., บอระเพ็ด 14 กก., ส้มซ่า 11 กก. และผักกาดน้ำ 3 กก.
คูลแคป นอกจากจะช่วยป้องกันร้อนใน ยังรักษาแผลร้อนในได้อีกด้วย เพราะสมุนไพรแต่ละตัว ออกฤทธิ์ลดการอักเสบ ช่วยระบายความร้อน ทั้งยังมีสรรพคุณอีกหลายด้าน ที่ช่วยรักษาอาการผิดปกติได้ในหลายระบบ
- โกฐน้ำเต้า (Rheum palmatum L.)
ช่วยระบายความร้อน บำรุงระบบย่อยอาหาร และขับของเสียตกค้างในกระเพาะอาหารและลำไส้ จึงช่วยขับอุจจาระและปัสสาวะ ปรับสมดุลร่างกาย กระตุ้นการไหลเลียนโลหิตให้เป็นปกติอีกครั้ง
- บอระเพ็ด (Tinospora crispa L.)
ด้วยสารประกอบที่พบในบอระเพ็ดกว่า 60 ชนิด ทำให้สมุนไพรชนิดนี้ใช้รักษาโรคได้หลากหลาย โดยเฉพาะฤทธิ์ต้านการอักเสบ จึงช่วยบรรเทาไข้ รักษาโรคกระเพาะอาหารอักเสบ หรือแผลในทางเดินอาหาร นอกจากนี้ยังช่วยลดระดับน้ำตาลในเส้นเลือดได้อีกด้วย
- ส้มซ่า (Citrus aurantium L.)
มีการศึกษาพบว่า สารสกัดจากส้มซ่าช่วยเพิ่มจำนวนออกซิเจนให้เซลล์ร่างกาย ทำให้ลดการเกิดอนุมูลอิสระ อันเป็นที่มาของการอักเสบ มีสรรพคุณเด่นในการอักเสบของทางเดินหายใจ ลดอาการเจ็บคอ และช่วยขับเสมหะได้ นอกจากนี้ยังมีฤทธิ์ช่วยคลายกังวลอีกด้วย
- ผักกาดน้ำ (Plantago asiatica L.)
ถึงชื่อผักกาดน้ำ แต่ต้นอยู่บนบก เป็นไม้ล้มลุกที่เป็นยาระบายอย่างดี ช่วยรักษาร้อนใน ลดการอักเสบของทางเดินหายใจ ลำไส้และผิวหนัง นอกจากนี้ยังช่วยขับสารพิษ ขับปัสสาวะ ขับเสมหะ และสิ่งตกค้างต่าง ๆ ออกจากร่างกายได้เป็นอย่างดี
สรุป
แผลร้อนในส่วนหนึ่งเกิดจากพันธุกรรม แต่ส่วนที่เกิดจากพฤติกรรมการใช้ชีวิต เป็นสิ่งที่สามารถป้องกันได้ ไม่ว่าจะเป็นการพักผ่อน การดื่มน้ำ การเลือกรับประทานอาหารที่อุดมไปด้วยวิตามิน จะช่วยป้องกันการเกิดร้อนในได้ หรือหากเป็นแผลร้อนในแล้วก็มียาให้เลือกทาแผลได้อีกหลายชนิด
แต่จะดีกว่าไหมถ้าให้คูลแคปช่วยดูแลคุณ นอกจากคูลแคปจะป้องกันการเกิดร้อนในได้แล้ว ยังช่วยบรรเทา และรักษาร้อนในได้อีกด้วย โดยสมุนไพรที่อัดแนน่นในคูลแคปทั้ง 4 ชนิด จะออกเสริมฤทธิ์กัน ช่วยระบายความร้อน ลดการอักเสบ ช่วยบรรเทาไข้ แก้เจ็บคอ ขับเสมหะ และยังใช้เป็นยาระบายอ่อน ๆ ได้อีกด้วย
“ หมดยุคที่ต้องออกตามหาสมุนไพรในป่าอีกต่อไป ให้คูลแคปดูแลคุณ ”