Last updated: 13 ก.ย. 2564 | 5112 จำนวนผู้เข้าชม |
สมุนไพรแก้เจ็บคอเป็นทางเลือกหนึ่ง สำหรับการรักษาอาการระคายคอ, คันคอ, เจ็บคอ ที่ได้รับความนิยมมาอย่างยาวนาน เพราะนอกจากจะรักษาอาการเจ็บคอได้แล้ว ยังสามารถช่วยลดอาการข้างเคียงอื่น ๆ ที่อาจเกิดร่วมกันได้อีกด้วย ทั้งยังหาซื้อได้ง่าย, ราคาถูก, ได้ผลดี และไม่มีสารพิษตกค้าง ทำให้คนยังนิยมใช้สมุนไพร เพื่อรักษาอาการเจ็บคอมาจนถึงปัจจุบัน
ความรู้สึกเจ็บคอที่เกิดขึ้นเวลากลืนน้ำลาย เป็นผลมาจากการอักเสบและบวม ของเยื่อบุทางเดินหายใจ โดยเฉพาะบริเวณคอหอยและกล่องเสียง ทำให้เมื่อมีการขยับของช่องคอเวลากลืนน้ำลาย จึงทำให้เกิดอาการเจ็บขึ้นมาได้ ซึ่งสมุนไพรที่นำมาใช้รักษาอาการเจ็บคอส่วนใหญ่ มักมีสารหลายชนิด ที่ออกฤทธิ์เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ จึงสามารถช่วยลดการอักเสบของเนื้อเยื่อได้โดยตรง และบางชนิดยังช่วยลดปริมาณของสารอักเสบลง ทำให้สมุนไพร สามารถช่วยรักษาอาการเจ็บคอได้เป็นอย่างดี
หากถามว่า คออักเสบกินอะไร ? แล้วมีคนตอบว่า ให้ทานอบเชยหรือชินนามอน คุณคงแปลกใจไม่น้อย แต่นั่นเป็นเพราะ อบเชยมีสารช่วยต้านอนุมูลอิสระชั้นเลิศ และสามารถออกฤทธิ์กำจัดแบคทีเรียได้ดี อาจทานโดยปรุงใส่อาหาร หรือจะเอามาผสมนมดื่มก็จะทำให้ทานได้ง่ายยิ่งขึ้น
สมุนไพรอีกชนิด ที่ช่วยรักษาอาการเจ็บคอได้ดีไม่แพ้ใคร คือรากชะเอม ซึ่งมีความเป็นสารต้านอนุมูลอิสระสูงมาก จึงช่วยลดการอักเสบ, กำจัดเชื้อไวรัส และกำจัดแบคทีเรียได้เป็นอย่างดี มีการศึกษาพบว่า หากกลั้วคอด้วยน้ำชะเอม ก่อนใส่ท่อช่วยหายใจเพื่อเตรียมผ่าตัด จะช่วยลดความเสี่ยงของการเจ็บคอลงได้ 50% เมื่อเทียบกับการกลั้วคอด้วยน้ำหวาน
หากมีอาการเจ็บคอเวลากลืนน้ำลาย หรือเป็นหวัดแล้วเจ็บคอ คนส่วนใหญ่มักนึกถึงน้ำขิง เพราะนอกจากจะทำให้รู้สึกโล่งคอแล้ว น้ำขิงยังช่วยลดการอักเสบของเยื่อบุคอได้โดยตรง และบางครั้งอาจช่วยฆ่าเชื้อโรค ที่ทำให้เจ็บคอได้อีกด้วย
พริกคาเยนมีหน้าตาคล้ายพริกชี้ฟ้า เป็นตระกูลเดียวกับพริกหยวก ที่แทบไม่มีรสเผ็ดเลย สามารถนำมาทำเป็นสมุนไพรแก้เจ็บคอได้ เพราะมีสาร Capsaicin อยู่ในไส้แกนลางพริก ซึ่งช่วยบล็อกตัวรับความรู้สึกเจ็บปวดได้ดี ซึ่งอาจใช้ไส้พริกผสมกับน้ำอุ่น และน้ำผึ้ง แล้วดื่มเพื่อบรรเทาอาการเจ็บคอ หรืออาจเลือกทานเป็นซอสพริกคาเยนก็ได้ไม่ต่างกัน
สมุนไพรชนิดนี้เป็นพืชตระกูลสะระแหน่ ซึ่งมีสาร Menthol ที่ออกฤทธิ์เย็น จึงช่วยให้ลำคอเย็นลง, ช่วยฆ่าเชื้อ และช่วยลดการอักเสบลงได้ โดยอาจผสมน้ำอุ่นดื่ม หรืออาจใส่ลงในชาร้อน จะช่วยให้ดื่มง่ายยิ่งขึ้น
สมุนไพรที่มีรสเปรี้ยวนี้ ใช้รักษาอาการเจ็บคอเวลากลืนน้ำลายได้เป็นอย่างดี บางคนนิยมนำมาจิ้มเกลือทานเวลามีเสมหะหรือเจ็บคอ แต่บางนิยมคั้นน้ำมาดื่ม หรือหากอยากลองรสชาติแปลกใหม่ แนะนำให้หยดน้ำผึ้งเพิ่มลงในน้ำมะขามป้อม รับรองจะสดชื่นจนลืมเจ็บคอไปเลย
Citrus aurantium L. หรือส้มซ่า เป็นสมุนไพรชนิดหนึ่ง ที่คนไทยนิยม นำมาใช้รักษาอาการไอ, เจ็บคอ, ขับเสมหะ และแก้วิงเวียนมาตั้งแต่โบราณ เพราะส้มซ่ามีสารต้านอนุมูลอิสระที่มีประสิทธิภาพดี อย่างสาร Phenol, Flavonone ที่สามารถช่วยลดการอักเสบ และล่าสุดมีการศึกษาในห้องทดลองพบว่า สาร Hesperidin ที่อยู่ในส้มซ่า สามารถแย่งจับระหว่าง หนามของเชื้อโคโรนาไวรัส (SARS-CoV-2 virus) กับโปรตีนที่เซลล์ของมนุษย์ (ACE2 receptor) ได้ จึงลดจำนวนการเจาะเข้าเซลล์ของไวรัส ซึ่งอาจช่วยลดความรุนแรงของโรคโควิด-19 ได้อีกด้วย
เมื่อคุณรู้แล้วว่า คออักเสบกินอะไรดี เลยอาจกำลังมองหาสมุนไพร เพื่อรักษาอาการเจ็บคออยู่ แต่ก็อาจติดปัญหาว่า จะให้หาสมุนไพรทานทุกมื้อคงไม่สะดวก หรือจะให้ทานแบบเดิมซ้ำ ๆ คงไม่ไหว จึงอยากขอแนะนำทางเลือก ที่ช่วยให้การทานยาสมุนไพรเป็นเรื่องง่ายสำหรับคุณ แค่ทานยาแคปซูลสมุนไพรคูลแคป ที่มีส่วนผสมของส้มซ่า ครั้งละ 2 เม็ด เช้า-เย็น เพียงเท่านี้ ก็บอกลาอาการเจ็บคอไปได้เลย
นอกจากคูลแคปจะประกอบด้วยส้มซ่าแล้ว ยังมีสมุนไพรสรรพคุณยอดเยี่ยม อย่างบอระเพ็ด, โกฐน้ำเต้า และผักกาดน้ำ ที่จะช่วยต้านอนุมูลอิสระ จึงช่วยลดอาการอักเสบได้เป็นอย่างดี ทั้งยังช่วยดูแลร่างกายในอีกหลายระบบ ทั้งลดอาการเจ็บคอ, ขับเสมหะ, บรรเทาไข้, แก้ร้อนใน, ขับเหงื่อ, ระบายความร้อน, ขับปัสสาวะ, ขับสารพิษ และยังใช้เป็นยาระบายอ่อน ๆ ได้อีกด้วย
การใช้สมุนไพรแก้เจ็บคอ เป็นวิธีรักษาตัวด้วยวิถีธรรมชาติที่ได้ผลดี และไม่มีสารเคมีตกค้าง โดยสมุนไพรจะออกฤทธิ์ เป็นสารที่ช่วยต้านอนุมูลอิสระ จึงช่วยลดการอักเสบของทางเดินหายใจ, ลดความรู้สึกเจ็บคอ และช่วยขับเสมหะได้ โดยสมุนไพรที่ช่วยรักษาอาการเจ็บคอ มักเป็นส่วนผสมในอาหารที่คนไทยคุ้นเคย หรือบางชนิดอาจเป็นผลไม้ที่มีรสเปรี้ยว เช่นส้มซ่า ซึ่งหากให้ทานซ้ำเดิมทุกวันคงไม่สะดวกนัก จึงขอแนะนำทางเลือกใหม่ สำหรับการใช้สมุนไพรเพื่อแก้เจ็บคอ อย่างยาแคปซูลสมุนไพรคูลแคป ซึ่งนอกจากช่วยรักษาอาการเจ็บคอ, ขับเสมหะได้แล้ว ยังช่วยดูแลร่างกายในอีกหลายระบบทีเดียว
7 ก.พ. 2563
20 พ.ค. 2562